การเดินทางของกาแฟ จากอดีตจนถึงวันนี้
ต้นกาแฟ ค้นพบครั้งแรกใน เอธิโอเปีย (Ethiopia) เนื่องจากชายเลี้ยงแพะสังเกตุเห็นแพะที่เลี้ยงอยู่มีอาการกระปรี้กระเปร่า เป็นพิเศษ หลังจากได้กินผลสีแดงคล้ายเชอรี่ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชายเลี้ยงแพะจึงลองเก็บผลชนิดนั้นมาลองกินดูบ้าง ปรากฎว่าเกิดอาการเช่นเดียวกับแพะ ข่าวดังกล่าวแพร่หลายอย่างรวดเร็วจนกระทั่งทราบไปถึงผู้สอนศาสนาที่รู้ถึง ความมหัศจรรย์ของผลสีแดงนี้ พระผู้สอนศาสนาจึงทดลองนำผลเชอรี่ดังกล่าวไปแช่น้ำและดื่มน้ำนั้นดู ทำให้เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง เหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของการดื่มน้ำผลเชอรี่หรือผลกาแฟนั่นเอง ความนิยมของกาแฟเริ่มแพร่กระจายในอาหรับมากขึ้น กระทั่งในปี ค.ศ.1534 สุลตานแห่งอิสตันบูล นามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุหนึ่งปีต่อมากาแฟเป็นที่นิยมมากขึ้นและมีร้านกาแฟเกิดขึ้น เป้นพี่พบปะของเหล่านักคิด นักปราชญ์ศิลปินรวมเหล่านักคิด ศิลปินแต่องค์กรศาสนากับมองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องซุมทำให้คนไม่สนใจศาสนา จึงประกาศว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน คนนิยมในกาแฟจึงลดลง กระทั่งยุคของสมเด็จสันปะปาคลีเมนที่ 13ได้ทดลองเครื่องดื่มดังกล่าว และประกาศว่าแท้จริงแล้วกาแฟมิได้เป็นอย่างข้อกล่าวหา กาแฟจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนั้นการดื่มกาแฟ เริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ต่อมามีการนำผลกาแฟไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรป ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว
ในปี ค.ศ. 1700 เริ่มมีการนำต้นกาแฟไปปลูกแถบอเมริกาใต้ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมปลูกกันมากในระยะเวลาต่อมา ปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน
ปัจจุบันมีหลายประเทศปลูกกาแฟ
ภูมิประเทศ ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟอยู่บริเวณแนวขนานของเส้นศูนย์สูตร และบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร หรือประเทศเขตร้อน
ปัจจุบันมี 44 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกขององค์การผู้ปลูกกาแฟ ได้แก่ Angola , Bolivia , Brazil , Burundi , Cameroon , Central African , Columbia , Congo , Congo Republic of , Costa Rica , Cuba , Dominican , El Salvador , Equatorial Guinea , Gabon , Ghana , Guaatemala , Guinea , Haiti , Honduras , India , Indonesia , Jamaica , Kenya , Madagascar , Malawi , Maxico , Nicaragua , Nigeria , Papua New Guinea , Paraguay , Philippines , Ruanda , Tanzania , Togo , Uganda , Venezuela , Vietnam , Zambia , Zimbabue , Thailand
ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ
ประเทศไทย มีผลผลิตกาแฟประมาณ 80,000 – 100,000 ตัน / ปี สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณ 30,000 ตัน และอีก 70,000 ตันส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา , แคนาดา , สเปน , เยอรมัน , อิตาลี , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น ฯลฯ *ปีพ.ศ. 2540 ประเทศไทยสามารถส่งออกกาแฟได้จำนวน 73,286 ตัน ( * ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ ตัวเลขการส่งออกกาแฟตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2540 )
ปัจจุบันกาแฟถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหลัก และมีการซื้อขาย (Trade) กาแฟในอีกหลากหลายรูปแบบ (Commodity) เป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม (Petroleum)
สำหรับการเดินทางของกาแฟมายังเมืองไทยนั้น ในปี 2447 โดยนายดีหมุน ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และนำเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จากเมืองเมกกะวาอุอาระเบีย มาปลูกที่ตำบนโตนด อำเภอสะบ้าย้อยหัวเมือง สงขลา ส่วนสายพันธ์กาแฟอราบิก้า นั้นเข้ามาในปี2549 นำมาปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย
การดื่มกาแฟ
- ผลของการวิจัยหลายชิ้นที่พบข้อดีข้อเสียของการดื่มกาแฟ เช่น กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ เบาหวานพาร์กินสัน
ในขณะเดียวกันก็พบว่าการดื่มกาแฟสองแก้วหรือมากกว่านั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สารก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่
การเป็นโรคหัวใจในเวลาต่อมาโดยนักวิจัยเป็นผู้วิเคราะห์ผล พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละไม่ต่ำกว่า 200 ซีซี (มากกว่าหนึ่งถ้วยนิดหน่อยซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ถือว่าดื่มปานกลาง
โดยหนึ่งถ้วยกาแฟมีคาเฟอีน 28 มิลลิกรัม ผู้ดื่มอาจดื่มกาแฟสำเร็จรูปบ้าง กาแฟคั่วบ้าง จะเป็นคาปูชิโนหรือเอสเปรสโซ่ หรือชนิดใดก็ตาม
ซึ่งมีคาเฟอีนปริมาณต่างกัน ผู้วิจัยจะนำมาคำนวณความต่างตรงนี้ด้วย) พบมีร่องรอยการอักเสบมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ
สตรีที่มีปัญหาตั้งครรภ์ยากนั้น เป็นไปได้ว่า โอกาสในการตั้งครรภ์อาจลดลงหากพวกเธอดื่มดาแฟวันละหลายถ้วย หรือสม่ำเสมอทั้งวัน
(แม้ว่าคาเฟอีนจะเป็นตัวทำลายความสมบูรณ์ได้ไม่มากเท่ากับแอลกอฮอลก็ตาม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น